องค์ประกอบที่ 1 | องค์ประกอบที่ 2 | องค์ประกอบที่ 3 | องค์ประกอบที่ 4 | องค์ประกอบที่ 5 | ปีการศึกษา 2558
องค์ประกอบที่ 5 การบริการจัดการ
  • ตัวบ่งชี้ที่5.1
  • ตัวบ่งชี้ที่5.2
  • ตัวบ่งชี้ที่5.3
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
 
ข้อ 1.พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของสถาบัน และพัฒนาไปสู่แผน กลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
        มหาวิทยาลัยได้มีการทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยจัดทำคำสั่งที่1260/2558 เรื่อง ให้ อาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากร ไปเข้าร่วม โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง"การทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559" ระหว่างวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรม เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา (เอกสาร 5.1.1(1)) ได้นำผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับนโยบายของสภามหาวิทยาลัย และจัดทำร่างแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และแผนกลยุทธ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2558 วันที่ 13 สิงหาคม 2558 วาระเพื่อพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์2559 (เอกสาร 5.1.1(2)) และมีมติเห็นชอบแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.2556-2560 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559 (เอกสาร 5.1.1(3)) และแผนปฏิบัติการ ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เอกสาร 5.1.1(4))

        มหาวิทยาลัยได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2556 – 2560 (เอกสาร 5.1.1(5)) มีการพัฒนาแผนกลยุทธ์ของจากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยไปสู่เป็นแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยมีคำสั่งแต่งตั่งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินและวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 2694/2558 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558 (เอกสาร 5.1.1(6)) ได้ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินและการวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เอกสาร 5.1.1(7)) และนำผลการวิเคราะห์ มารวบรวมจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559(เอกสาร 5.1.1(9)) เพื่อเป็นกลไกในการบริหารด้านการเงินให้เหมาะสมและเพียงพอที่จะสนับสนุนพันธกิจต่างๆ ของมหาวิทยาลัย พร้อมกับการกำกับติดตามให้บรรลุเป้าหมาย นำไปสู่การปฏิบัติ ในการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผน กลยุทธ์ทางการเงินและการวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 13 มกราคม 2559 (เอกสาร 5.1.1(9)) 

        มหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานมหาวิทยาลัย เลขที่ 06/2559 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558 จังหวัดปทุมธานี (เอกสาร 5.1.1(10)) เพื่อกำกับติดตามความสำเร็จของตัวบ่งชี้ให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ มีรายละเอียดดังนี้ 

        ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย และคณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ ตามแผนกลยุทธ์ จำนวนทั้งหมด 69 ตัวบ่งชี้ บรรลุ 52 ตัวบ่งชี้ ปรับปรุง 17 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานร้อยละ 86.07 (หน้า 39-40) (เอกสาร 5.1.1(11))
        ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีการรายงานผลการปฏิบัติการตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ มีจำนวนตัวบ่งชี้ ตามแผนกลยุทธ์ จำนวนทั้งหมด 43 ตัวบ่งชี้ (เอกสาร 5.1.1(12))

5.1.1(1) รายงานสรุปผลโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559" ระหว่างวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรม เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

5.1.1(2)รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2558 วันที่ 13 สิงหาคม 2558 วาระเพื่อพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

5.1.1(3) แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม-ราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ฉบับปรับปรุง)

5.1.1(4) แผนปฏิบัติการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 5.1.1(5) แผนกลยุทธ์การเงินมหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2556 – 2560

5.1.1(6) คำสั่งแต่งตั่งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินและวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 2694/2558 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558

5.1.1(7) ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินและการวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 13 มกราคม 2559

5.1.1(8) แผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

5.1.1(9) ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินและการวิเคราะห์ทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ทางการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 27 เมษายน 2559

5.1.1(10) คำสั่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ 06/2559 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558 จังหวัดปทุมธานี เรื่อง แต่งตั่งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานมหาวิทยาลัย

5.1.1(11) รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย และคณบดี มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 (หน้า 39-40)

5.1.1(12) รายงานผลการปฏิบัติการตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ข้อ 2.การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
        จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพและต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ประจำปีการศึกษา 2559 โดยมีหน้าที่กำหนดแนวทางในการดำเนินงานจัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างปีงบประมาณ และจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพ (เอกสาร 5.1.2(1))
1. การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต มีข้อมูลประกอบในการดำเนินการดังนี้
- จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ของปีการศึกษา 2558 เพื่อจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต
- รายงานงบการเงินประจำปี 2557 และ 2558
- จำนวนกิจกรรมของแต่ละผลผลิต
- หน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน เพื่อเป็นศูนย์สำหรับกระจ่ายต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตไปยังกิจกรรม
- แยกประเภทแหล่งของเงิน
- ต้นทุนบางประเภทของค่าใช้จ่าย
- ต้นทุนรวมของหน่วยงานจำแนกเป็นต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อมของหน่วยงานหลักและหน่วยงานสนับสนุน (เอกสาร 5.1.2(2) – 5.1.2(5))
2. นำข้อมูลในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตแต่ละหลักสูตร ให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการบริหารหลักสูตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการผลิตบัณฑิตและโอกาสในการแข่งขัน (เอกสาร 5.1.2(6)-5.1.2(7))

5.1.2(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพและต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต  ประจำปีการศึกษา 255 เลขที่ 2694/2558  ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558

5.1.2(2) จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (FTES) ของปีการศึกษา 2558

5.1.2(3) เอกสารการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 และ 2558

5.1.2(4) ข้อมูลรายได้และการเบิกจ่ายของแต่ละหน่วยงานจากระบบบัญชี     3 มิติ ประจำปี 2557 และ 2558

5.1.2(5) รายงานการเงินประจำเดือนและงบการเงิน ของปีงบประมาณ 2557 และ 2558

5.1.2.(6) รายงานการผลการประชุมในการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละคณะ

5.1.2(7) เผยแพร่ผลการคำนวณผลผลิต www.vru.ac.th

ข้อ 3.ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
           มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ระดับมหาวิทยาลัย (เอกสาร 5.1.3(1)) ประกอบไปด้วย รองอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่วิเคราะห์และระบุความเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบตามคำสั่งที่ 1189/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย(แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามพันธกิจของสถาบัน ในการประชุม ครั้งที่1/ปีการศึกษา 2558วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2559 (เอกสาร 5.1.3(2))

          ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาจากประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวม 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพบัณฑิต,ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา,ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 วิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม,ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารและพัฒนาสถาบัน ซึ่งพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงจากมิติของโอกาสและผลกระทบจากความเสี่ยงต่อภารกิจหลัก 4 ด้าน ของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 1. ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน 2. ความเสี่ยงด้านการวิจัย 3. ความเสี่ยงด้านการบริการวิชาการและ 4. ด้านการบริหารการเงินและงบประมาณ และการประกันคุณภาพ ซึ่งผู้ร่วมประชุมระบุความเสี่ยง ทั้งหมดได้ 15 ความเสี่ยง โดยเป็นความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ (ความเสี่ยงต่ำ) จำนวน 10 ความเสี่ยงและเป็นความเสี่ยงที่ต้องนำมา จัดทำแนวทางการจัดการความเสี่ยง 4 ความเสี่ยง คณะกรรมการได้ร่วมกันจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่ระบุประเด็นความเสี่ยงที่มีดัชนีความสูง (เอกสาร 5.1.3(4))ดังนี้

ด้านการเรียนการสอน
          1.ความรู้ด้านภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
          2.จำนวนนักศึกษาลดลง
          3.คุณวุฒิของอาจารย์ระดับปริญญาเอกไม่เป็นไปตามเกณฑ์

ด้านวิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริมพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
          1.จำนวนผลงานและการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อย

          คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปดำเนินกิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงในประเด็นที่กำหนดและให้มีการรายงานผลการบริหารความเสี่ยงในการประชุมครั้งที่ 1/2559 วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2559 (เอกสาร5.1.3(5))พบว่า ผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง 5.1.3 (6) มีรายละเอียดดังนี้

ด้านการเรียนการสอน
          1.ความรู้ด้านภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
                    1.1 ความรู้ด้านภาษา มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์ทักษะด้านภาษา ในปีการศึกษา 2557 เท่ากับร้อยละ50.45 และในปีการศึกษา 2558 เท่ากับร้อยละ 69.21 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ18.76
                    1.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาใหม่ ในปีการศึกษา 2557 มีสถิติการสืบค้นฐานข้อมูล = 173,364 ครั้ง ค้นไม่พบข้อมูล = 35,273 ครั้ง ในปีการศึกษา 2558 มีสถิติการสืบค้นฐานข้อมูล = 194,075 ครั้ง ค้นไม่พบข้อมูล = 30,562 ครั้ง จำนวนนักศึกษาใหม่ที่ทำการร้องขอเข้าร่วมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัย 10 ก.ย.2558 ฯลฯ ได้รับการอบรม 100% และทำให้ สถิติการสืบค้นฐานข้อมูลงานวิจัย ปีพ.ศ. 2558 เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2557
          2. จำนวนนักศึกษาลดลง ในปีการศึกษา 2557 มีจำนวนนักศึกษามารายงานตัว 2,478 คน ในปีการศึกษา 2558 มีจำนวนนักศึกษามารายงานตัว จำนวน 2,833 เพิ่มขึ้นจำนวน 355 คน

ด้านวิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริมพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
          1. คุณวุฒิของอาจารย์ระดับปริญญาเอกไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ในปีการศึกษา 2557 มีอาจารย์วุฒิปริญญาเอกมาสมัครงาน จำนวน 16 คน ในปีการศึกษา 2558 มีอาจารย์วุฒิปริญญาเอกมาสมัครงาน จำนวน 70 คน เพิ่มขึ้น จำนวน 57 คน
           มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาด้านคุณวุฒิ โดยให้ทุนการศึกษาและสนับสนุนทุนวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์ ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 6 ราย ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 6 ราย มหาวิทยาลัยอนุมัติให้อาจารย์ลาศึกษาต่อ ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ราย และในปีการศึกษา 2558 จำนวน 6 ราย ส่งผลให้ความเสี่ยงลดลง

ด้านวิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริมพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
          1.จำนวนผลงานและการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติมีจำนวนน้อย
          จำนวนบทความ 2557 มี 212 บทความ และในปี 2558 มีจำนวน 223 บทความ
          ในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยมีการบริหารความเสี่ยง ทั้งหมดจำนวน 4 ด้าน มีผลการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ลดลง แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่ และจะนำความเสี่ยงที่เหลืออยู่ไปจัดการในปีการศึกษา 2559 เพื่อทำให้ความเสี่ยงลดลง

5.1.3(1) คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์    ที่ 735/2559 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2559 (ฉบับที่1) และที่ 1189/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับมหาวิทยาลัย(แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559

5.1.3(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงการประชุม ครั้งที่1/2559(ปีการศึกษา 2558) วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2559

5.1.3 (3) เอกสารระบุความเสี่ยงและการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.3 (4) แผนการจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.3 (5) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงการประชุม ครั้งที่ 1/2559 วันพุธที่ 27กรกฎาคม 2559  (ติดตามและรายงานผล รอบ 12 เดือน)

5.1.3 (6) รายงานผลการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (แบบรายงาน ปย.2)

 

ข้อ 4.บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
          ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้บริหารได้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานโดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ ดังนี้
1) หลักประสิทธิผล มหาวิทยาลัยได้มีการทบทวนแผนกลยุทธ์ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีประจำปีงบประมาณ 2559 โดยมีการกำหนดความสำเร็จ ตัวบ่งชี้ 69 ตัวบ่งชี้ บรรลุเป้าหมายทั้งสิ้น 52 ตัว ปรับปรุง 17 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 86 ของเป้าหมาย และได้มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินการโดยจัดเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี 2560 เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 5.1.4(1) – 5.1.4(5))
2) หลักประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจัดสรรงบประมาณให้คณะ สำนัก สถาบัน ดำเนินงานตามพันธกิจและกำกับติดตามเร่งรัด ให้ใช้งบประมาณในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินการรายงานผลการดำเนินการประหยัดพลังงานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้มีการจัดทำรายงานต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตเพื่อใช้เป็นประสิทธิภาพในการทำงาน (เอกสารหมายเลข 5.1.4 (6) – 5.1.4 (8))
3) หลักการตอบสนอง ผู้บริหารนำโดยอธิการบดีมีช่องทางการรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและรับฟังความต้องการ หลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์ website e-mail สายตรง และมอบหมายให้เลขานุการเป็นผู้จัดพิมพ์ และรวบรวมเพื่อนำเสนอให้อธิการบดีพิจารณา และสั่งการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการตอบสนองความคาดหวัง หรือความต้องการและ ทำให้บุคลากร นักศึกษา ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีส่วนการตอบสนองเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น การให้ทุนวิจัย การให้ค่าตอบแทนตำแหน่งทางวิชาการ การตอบสนองต่อชุมชน เช่น การจัดอบรมเพื่อต่อใบขับขี่โดยการทำข้อตกลงความร่วมมือกับกรมการขนส่ง เปิดให้บริการอบรมเพื่อสอบใบขับขี่ การทำบริการด้านวิจัยโดยทำความข้อตกลงกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการพัฒนาครู เป็นต้น โดย กพร. ได้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ 2 กลุ่ม ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการบัณฑิตต่อบัณฑิต คะแนนที่ได้จากการสำรวจอยู่ที่ 4.5198 หรือคิดเป็นร้อยละ 90.40 และความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษา คะแนนที่ได้จากการสำรวจอยู่ที่ .388 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.67 (เอกสารหมายเลข 5.1.4 (9))
4) หลักการรับผิดชอบ มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะเป็น 3 รอบ คือ รอบ 3 เดือน รอบ 6 เดือน และรอบ 9 เดือน ทั้งนี้ คณะกรรมการมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่โดยคำนึงถึงการดำเนินงาน ตามมติ เพื่อให้การบริหารงานบรรลุเป้าหมาย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ครอบคลุมพันธกิจของมหาวิทยาลัย
5) หลักความโปร่งใส ผู้บริหารทุกคน มีการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคลากรโดยผ่านทาง เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และให้บริษัท เอ. เอ. ซี ออดิท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีการตรวจสอบ ควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละฝ่ายทุกรายการ โดยให้ผู้ตรวจบัญชีจากภายนอกเป็นผู้ตรวจ และสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สภามหาวิทยาลัยด้านการเงินและงบประมาณ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะด้านการเงินและงบประมาณของมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีการนำระบบสามมิติ และระบบอื่นๆ ของกรมบัญชีกลางมาใช้เพื่อเป็นการตรวจสอบทางการจัดซื้อ จัดจ้าง การตัดยอด การใช้งบประมาณ เพื่อความถูกต้องและโปร่งใส และยังมีการแต่งตั้งกรรมการกลางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจรับ เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินการอีกทางหนึ่งด้วย และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ดำเนินการตรวจสอบกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการการเงินและงบประมาณอีกครั้ง รวมถึงมีการเผยแพร่รายงานการประชุม คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยผ่านทาง Website ให้ประชาคมได้มีส่วนในการรับรู้ รับทราบ (เอกสารหมายเลข 5.1.4 (11))
6) หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การทบทวนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 12/2558 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้ข้อเสนอแนะในทุก ๆ เรื่อง ในการประชุมบุคลากรของมหาวิทยาลัยทุกภาคเรียน โดยภาคการศึกษาที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 ภาคการศึกษาที่ 2/2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2559 ภาคการศึกษาที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 และแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางอื่น เช่น เว็บไซต์ Facebook กล่องรับความคิดเห็นที่ตั้งอยู่หน้าสำนักงานอธิการบดี โดยผู้บริหารจะดำเนินการตอบในทุก ๆ เรื่อง นอกจากนี้ในคณะกรรมการชุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ยังมีผู้แทนจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย กรรมการประจำส่วนราชการของหน่วยงานต่างๆ (เอกสารหมายเลข 5.1.4(12) – 5.1.4(13))
7) หลักการกระจายอำนาจ อธิการบดีได้กำหนดและมอบอำนาจในการบริหารและการตัดสินใจแต่ละเรื่องให้แก่รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดี ในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายโอนอำนาจในการตัดสินใจไปยังคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ตั้งขึ้น โดยมุ่งประโยชน์ของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง เช่น คณะกรรมกรรมการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยอธิการบดี เช่น คณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 5.1.4(14) – 5.1.4(16))
8) หลักนิติธรรม บริหารงานตามเจตนารมณ์ของระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และประกาศที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และจัดทำเอกสารรวบรวม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับประกาศต่างๆ ให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
9) หลักความเสมอภาค ให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในด้านการบริหารจัดการ การบริหารงาน อาทิเช่น มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน โดยออกเป็นข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2559 สำหรับสายวิชาการ และคู่มือประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับสายสนับสนุน มีการจัดการศึกษาให้กับนักศึกษาทุกเพศ ทุกภาษา ทุกช่วงอายุ รวมทั้งมีการจัดการฝึกอบรมที่หลากหลายให้กับประชาชนทุกกลุ่ม (เอกสารหมายเลข 5.1.4(17) – 5.1.4(18))
10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ในการพิจารณาอนุมัติเรื่องต่าง ๆ ในแต่ละครั้งจะผ่านการพิจารณาที่ต้องมีความเห็นชอบ โดยมีวาระเพื่อพิจารณาบรรจุไว้ในวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารชุดต่างๆ อย่างชัดเจน โดยในการประชุมหรือตกลงใช้กลไกในการตัดสินใจ อาทิเช่น คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยจะร่วมกันพิจารณางานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยจะร่วมกันพิจารณาเรื่องการบริหารบุคคลของบุคลากรประเภทต่างๆ กรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัยพิจารณาในการตัดสินใจบริหารงานเรื่องต่างๆ ร่วมกัน (เอกสารหมายเลข 5.1.4(12) และ5.1.4(19)- 5.1.4(23))
5.1.4 (1) แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2559 - 2560
5.1.4 (2) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2559
5.1.4 (3) รายงานผลการดำเนินการปี 2559
5.1.4 (4) แผนปฏิบัติการ ปี 2560
5.1.4(5) รายงานการประชุมคณะ กรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559ร่าง
5.1.4 (6) รายงานการประชุมคณะ กรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559
5.1.4 (7) สรุปรายงานผลโครงการลดการใช้พลังงานในส่วนราชการ
5.1.4 (8) รายงานผลต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
5.1.4 (9) รายงานผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
5.1.4(10) คำสั่งสภามหาวิทยาลัย ที่ 12/2559 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สภามหาวิทยาลัยด้านการเงินและงบประมาณ ลงวันที่ 27 เมษายน 2559
5.1.4 (11) คำสั่งสภามหาวิทยาลัยที่ 19/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2559
5.1.4 (12) ประกาศมหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประจำส่วนราชการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.4(13) คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 491/2559 เรื่อง มอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบให้รองอธิการบดี ลงวันที่ 6 มีนาคม 2559
5.1.4(14) คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 853/2557 เรื่อง มอบหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ช่วยอธิการบดี ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2557
5.1.4(15) คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 748/2553 เรื่อง มอบอำนาจคณบดีปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี ลงวันที่ 27 เมษายน 2553
5.1.4 (16) ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2559
5.1.4 (17) คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงาน
5.1.4 (18) คำสั่งสภามหาวิทยาลัยที่ 21/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 1 กันยายน 2559
5.1.4 (19) คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 008/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 3 มกราคม 2557 และที่เพิ่มเติม
5.1.4 (20) ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559
5.1.4 (21) ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559
5.1.4 (22) ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559
ข้อ 5.การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน

           มหาวิทยาลัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานจัดการความรู้ (KM) ของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คำสั่งเลขที่ 2249/2557 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 (เอกสาร 5.1.5(1)) และคำสั่งเลขที่ 663/2559 สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2559 (เอกสาร 5.1.5(2))  เพื่อทำหน้าที่กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ สื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ทั้งระดับคณะ และหน่วยงานสนับสนุน ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย
          มหาวิทยาลัย มีการกำหนดแนวทางการดำเนินการจัดการความรู้เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินงานการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ดังนี้ 
1.มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งในระดับคณะประเด็นความรู้อย่างน้อยต้องครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย
2.มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่กำหนดประเด็นความรู้ไว้
3.มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะ เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1  และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
4.มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกเป็นลายลักษณ์อักษร
5.มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
           มหาวิทยาลัย มีการกำกับ ติดตามให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ โดยมีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.1.5(3)) มีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้
           1.จัดทำบันทึกข้อความ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเอกสารแผนการจัดการความรู้ (KM)/คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ของคณะ/หน่วยงาน ที่ศธ 0551.19/ว 029 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 (เอกสาร5.1.5(4)) เพื่อกำกับติดตามให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการด้านการจัดการความรู้
           2.จัดทำบันทึกข้อความ ที่ศธ 0551.19/ว 129 ขอความอนุเคราะห์ส่งสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM)  ประจำปีการศึกษา 2558 รอบ 9 เดือน ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2559(เอกสาร 5.1.5(5)) และบันทึกข้อความ ที่ศธ 0551.19/ว 188 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ส่งสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM)  ประจำปีการศึกษา 2558 รอบ 12 เดือน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม  2559(เอกสาร5.1.5(6)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินการด้านการจัดการความรู้
จากการกำกับ ติดตาม สรุปผลการดำเนินการจัดความรู้ ของทุกหน่วยงาน สรุปได้ดังนี้ (5.1.5(7))

ระดับคณะ/วิทยาลัย มีคณะจำนวน 6 คณะ และ วิทยาลัย จำนวน 1 วิทยาลัย ได้แก่
           1.คณะเทคโนโลยีการเกษตร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 059/2559 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2559 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง การจัดทำประกันคุณภาพระดับหลักสูตร ด้านวิจัย คือ เรื่อง งานวิจัยเชิงวิชาการและงานวิจัยชุมชน
           2.คณะครุศาสตร์ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ เลขที่ 077/2559 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เน้นทักษะ 3Rด้านวิจัย คือ เรื่อง การขออนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัย
           3.คณะวิทยาการจัดการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ (แก้ไข) เลขที่ 003/2559 ลงวันที่ 14 มกราคม 2559 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการกับการทำงาน (WIL) และด้านวิจัย คือ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานวิจัยอาจารย์ร่วมกับนักศึกษา
           4.คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานการจัดการความรู้ (KM) เลขที่  128/2558 ลงวันที่ 30 กันยายน 2558 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง ด้านภาษาอังกฤษ ด้านวิจัย คือ เรื่อง การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่
           5.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการความรู้ เลขที่ 218/2558 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2558 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง ความรู้การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และด้านวิจัย คือ เรื่อง ความรู้ด้านการวิจัยชุมชน
           6.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 336/2558 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2558 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง การขอผลงานทางวิชาการสายวิทยาศาสตร์ และด้านวิจัย คือ เรื่อง การเขียนบทความวิทยาศาสตร์เพื่อการเผยแพร่
           7.วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 628 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 และกำหนดประเด็นความรู้ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิตบัณฑิต คือ เรื่อง “การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบ Work-Based Learning” และด้านวิจัย คือ เรื่อง “การบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอน” วิทยาลัยนวัตกรรมได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานวิจัย”

ระดับหน่วยงานสนับสนุน จำนวน 7 หน่วยงาน
           1.สำนักงานอธิการบดี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ เลขที่ 1855 ลงวันที่ 14 กันยายน 2559 ประเด็นความรู้ คือ หลักการเขียนคู่มือปฏิบัติ แบบ cook book และ tip book เพื่อกำหนดตำแหน่งและความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ
           2.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 337/2559 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ประเด็นความรู้ คือ การรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี
           3.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ เลขที่ 1719 ลงวันที่  30 สิงหาคม 2558 ประเด็นความรู้ คือ การสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)
           4.สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 2288/2558 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 ประเด็นความรู้ คือ กระบวนการจัดการความรู้เรื่องการติดตามผลการให้บริการวิชาการ
           5.สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา เลขที่ 106/2558 ลงวันที่ 19 มกราคม 2559 ประเด็นความรู้ คือ การพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อใช้ในการขอผลงานวิชาการ
           6.บัณฑิตวิทยาลัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้ เลขที่ 011/2559 ลงวันที่ 15 มกราคม 2559 ประเด็นความรู้ คือ ระบบจัดการข้อมูลจองรายวิชาและลงทะเบียน
           7.งานศึกษาทั่วไป มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ เลขที่ 304/2559 ประเด็นความรู้ คือ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
           มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมสนับสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานมีการจัดการความรู้โดยมีการประชาสัมพันธ์ข่าวเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้จากหน่วยงานภายนอกเพื่อให้หน่วยงานได้เข้าร่วมสัมมนา และมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานจัดการความรู้กับหน่วยงานภายนอก โดยการจัดส่งทางระบบ E-Office (เอกสาร 5.1.5(8)) รวมถึงการให้คำปรึกษากับทุกหน่วยงานในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้

5.1.5(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ระดับมหาวิทยาลัย เลขที่ 2249/2557

5.1.5(2) แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานจัดการความรู้ (KM) ของมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 663/2559 สั่ง ณ วันที่ 23 มีนาคม 2559

5.1.5(3) ปฏิทินการดำเนินงานจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.5(4) บันทึกข้อความ ที่ศธ 0551.19/ว 029  เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเอกสารแผนการจัดการความรู้ (KM) / คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ของคณะ/หน่วยงาน ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559

5.1.5(5) บันทึกข้อความ ที่ศธ 0551.19/ว 129 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ส่งสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM)  ประจำปีการศึกษา 2558 รอบ 9 เดือน ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2559

5.1.5(6) บันทึกข้อความ ที่ศธ 0551.19/ว 188 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ส่งสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ (KM)  ประจำปีการศึกษา 2558 รอบ 12 เดือน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2559

5.1.5(7) เอกสารผลการดำเนินการจัดการความรู้ ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับหน่วยงานสนับสนุน

5.1.5(8) เอกสารประชุมสัมมนาการจัดการความรู้จากหน่วยงานภายนอก

5.1.5(9) เว็บไซต์การจัดการความรู้ ของสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ

 
ข้อ 6.การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
        มหาวิทยาลัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ประจำปีงบประมาณ 2559 (เอกสาร 5.1.6 (1)) ประกอบไปด้วย คณะกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
       1.คณะกรรมการอำนวยการ มีอธิการบดี/รองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี/ผู้อำนวยการศูนย์ สำนัก กอง ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก
เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานระบบ และอนุมัติให้ดำเนินงานตามแผน

       2.คณะกรรมการดำเนินงานและรายงานผลการพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วย ดังนี้
       2.1 คณะกรรมการดำเนินการสายวิชาการ มีรองอธิการบดีที่ดูแลงานด้านวิชาการ เป็นประธาน ผู้ช่วยอธิการบดี/คณบดี/ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน /หัวหน้าสำนักงานคณบดีทุกคณะและมีหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดแผนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร สายวิชาการ        2.2 คณะกรรมการดำเนินการสายสนับสนุน รองอธิการบดีที่ดูแลงานด้านบริหารงานบุคคลเป็นประธาน รองอธิการบดี/ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี/หัวหน้าสำนักงานคณบดีทุกคณะเป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการกองกลางเป็นเลขานุการทำหน้าที่กำหนดแผนการดำเนินงานและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร สายสนับสนุน คณะกรรมการบริหารและพัฒนาคณาจารย์ได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 (เอกสาร 5.1.6(4)) ในการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (เอกสาร 5.1.6(4))

การดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานดังนี้
       1.การสรรหาและคัดเลือก มหาวิทยาลัยได้วางแผนวทางในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรดังต่อไปนี้
       1.1วางแผนอัตรากำลังโดยให้ทุกหน่วยงานทบทวนอัตรากำลังการเพิ่ม/ลด หรือทดแทน
       -อาจารย์ : จำนวนการรับโดยการคิดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา
       -บุคลากรสายสนับสนุน : จำนวนการรับตามปริมาณงานของหน่วยงานต่างๆ

       1.2 การกำหนดคุณสมบัติอาจารย์และเจ้าหน้าที่
       -อาจารย์ : มุ่งเน้นอาจารย์ที่มีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอก หรือมีคุณวุฒิตรงตามสาขาวิชาที่เปิดสอน และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร รวมทั้งถ้ามีตำแหน่งทางวิชาการ มีงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ
       -บุคลากรสายสนับสุน : พิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ ความ สามารถและทักษะตรงตามตำแหน่ง
       1.3 มหาวิทยาลัยได้จัดทำประกาศรับสมัครงานทางเว็บไซต์ ซึ่งกำหนดระยะเวลาในการรับสมัคร วันสอบ วันสัมภาษณ์
       1.4 การคัดเลือกอาจารย์ใหม่ประกอบด้วย คณบดี หัวหน้าสาขาวิชา โดยมีหน่วยงานกองการเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเป็นผู้ประสานงาน
       1.5 มีการดำเนินการคัดเลือกโดยมีการสอบสอนและสอบสัมภาษณ์โดยมีกระบวนการสัมภาษณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ ทดสอบทักษะในงานตามตำแหน่งงานที่ต้องการสรรหา หน่วยงานกองการเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเป็นประสานงาน
       1.6 รองอธิการบดี พิจารณาผลและสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้ายเมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วจึงทำการประกาศผลการสอบผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
       1.7 มีการทดลองงาน

การกำกับติดตามด้านสรรหาและคัดเลือก

       ในส่วนของการวางแผนอัตรากำลังมีการประสานงานระหว่างคณะ/สาขาวิชา/หน่วยงาน ในการวางแผนอัตรากำลังให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ในกรณีที่มีการลาออกทางคณะ/สาขาวิชา/หน่วยงาน จะมีการแจ้งมายังหน่วยงานกองการเจ้าหน้าที่เพื่อหาจัดหาบุคลากรมาทดแทน
       ในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการปรับปรุงด้านการสรรหาและคัดเลือกโดยมีการปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือก ได้แก่ การเพิ่มทดสอบภาษาอังกฤษ เพื่อสนองตอบนโยบายของคณะกรรมการอุดมศึกษาในการสรรหาและคัดอาจารย์ที่มีคุณภาพมากขึ้น

       2.การพัฒนาบุคลากร
       มหาวิทยาลัยได้วางแนวทางในการพัฒนาบุคลากร โดยจัดทำเส้นทางเดินของตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ (Career Path) ที่เน้นในการพัฒนาบุคลากรทุกประเภทและทุกตำแหน่งให้มีความรู้ ทักษะเจตคติ และมีสมรรถนะตรงตามสายงานที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้เมื่อบุคลากรมีคุณภาพ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการปฏิบัติงาน มีความรักองค์กร มีความพึงพอใจในการทำงาน และมีความก้าวหน้าทางอาชีพตามสายงาน โดยพัฒนาบุคลากรแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
       2.1 ด้านการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่คำนึงว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าโดยมุ่งหวังให้บุคลากรได้รับความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน ซึ่งการฝึกอบรมของบุคลากรจะมีทั้งการอบรมภายใน ภายนอก และการศึกษาดูงาน อาทิเช่น โครงการอาจารย์ใหม่มืออาชีพ ปีการศึกษา 2558 โครงการอบรมการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรสายสนับสุน เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2559 โครงการพัฒนาการให้บริการมุ่งสู่บริการเหนือความคาดหวัง ประจำปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2559 มีการส่งเสริมอาจารย์/นักวิจัยให้เข้าร่วมประชุมอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการวิจัย โครงการอบรม "การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม" เป็นต้น และเพื่อนำความรู้มาเป็นพื้นฐานหรือต่อยอดในการพัฒนาตนเองโดยจัดสรรเป็นงบพัฒนาบุคลากร แยกจากงบประมาณนำเสนอผลงานวิจัยซึ่งจัดสรรโดยกองทุนวิจัย

        2.2 ด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความก้าวหน้าของอาจารย์ ดังนี้
       2.2.1 การพัฒนาอาจารย์ให้มีตำแหน่งทางวิชาการ ได้มีการสนับสนุนทั้งการจัดอบรมการทำผลงานวิชาการ อาทิเช่น โครงการอบรม "ทำผลงานวิชาการอย่างไรให้เสร็จเร็ว และครั้งเดียวผ่าน ครั้งที่ 1" โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเขียนคู่มือการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์จากงานประจำสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน เป็นต้น
       2.2.2 การพัฒนาบุคลากรด้านคุณวุฒิทางการศึกษา มหาวิทยาลัยโดยมีการส่งเสริมให้อาจารย์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

การกำกับติดตามด้านการพัฒนาบุคลากร

       1.ด้านการฝึกอบรม มีการติดตามให้อาจารย์ทุกท่านส่งรายงานการฝึกอบรม (Training Record) ต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อลงบันทึการฝึกอบรมทั้งที่จัดขึ้นเองภายในมหาวิทยาลัยและอบรมโดยหน่วยงานภายนอก และคำนวณชั่วโมงการฝึกอบรมทั้งที่จัดขึ้นเองภายในมหาวิทยาลัยและอบรมโดยหน่วยงานภายนอก มีโครงการการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ อาทิเช่น โครงการอบรม"คลินิกวิจัย; พัฒนาระบบสนับสนุนการผลผลงานวิจัย" เพื่อช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการทำวิจัยให้กับนักวิจัย เพื่อที่นักวิจัยจะสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ดีได้ โครงการอบรมค่ายวิชาการเพื่อขอผลงานวิชาการ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์และสาขาที่ตรงหรือใกล้เคียงกับนักวิจัยที่ต้องการพัฒนางานวิจัยเพื่อขอผลงานทางวิชาการ มาเป็นทั้งวิทยากรและพี่เลี้ยงให้กับนักวิจัยตั้งแต่ในการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนทุนวิจัย จนกระทั่งงานวิจัยสมบูรณ์

       2.ด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
       2.1พัฒนาคณาจารย์ให้มีตำแหน่งทางวิชาการ
       การพัฒนาให้คณาจารย์ให้มีตำแหน่งทางวิชาการเมื่ออาจารย์ที่เข้าค่ายตำแหน่งทางวิชาการมีผลงานครบถ้วน ในปีการศึกษา 2558 ได้เสนอผ่านคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้
คณาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 11 คน ได้แก่
1.ผศ.ดร.ชาคริต ศรีทอง
2.ผศ.ประภาวรรณ แพงศรี
3.ผศ.ธนาวุฒิ วงศ์อนันต์
4.ผศ.จิระศักดิ์ สังเมฆ
5.ผศ.อัจฉราวรรณ สุขเกิด
6.ผศ.กมลมาศ วงษ์ใหญ่
7.ผศ.เทิดศักดิ์ อินทโชติ 8.ผศ.จุเลียบ ชูเสือหึง
9.ผศ.ดร.นิสา พักตร์วิไล
10.ผศ.ดร.สุวรรณา จุ้ยทอง
11.ผศ.ดร.ชุมพล ปทุมมาเกษร
-รองศาสตราจารย์ จำนวน 2 คน ได้แก่
1.รศ.ดร.ฉันธะ จันทะเสนา
2.รศ.ดร.ศศมล ผาสุข
       เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีการรับอาจารย์ใหม่ที่พึ่งสำเร็จการศึกษาเข้ามาปฏิบัติงานจึงทำให้ต้องรอเวลาให้ครบตามเกณฑ์การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ จึงทำให้อายุงานของอาจารย์ที่ไม่ครบตามเกณฑ์ ดังนั้นจึงจัดให้ที่มีอายุงานไม่ครบตามเกณฑ์เข้าค่ายตำแหน่งทางวิชาการ และจัดทำผลงานให้พร้อมก่อน เมื่ออายุงานครบตามเกณฑ์พร้อมที่จะยื่นขอตำแหน่งทางชาการทันที และรับคณาจารย์ที่เกษียณอายุจากราชการและมีตำแหน่งทางวิชาการติดตัวมา ในกรณีรับทดแทน

       2.2พัฒนาคณาจารย์ให้มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก

       โดยในปีการศึกษา 2558 มีการกำกับติดตาม โดยมหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษาต่อ เมื่อสิ้นปีการศึกษาให้ผู้รับทุนรายงานความก้าวหน้ากลับมายังมหาวิทยาลัย รวมถึงเอื้อในเรื่องของเวลาในการเรียนต่อระดับปริญญาเอกค่อนข้างนาน ดังนั้นจึงได้ให้รับคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกติดตัวมา ในกรณีรับทดแทน และติดตามโดยให้อาจารย์/เจ้าหน้าที่รายงานความก้าวหน้าการศึกษาต่อ

       3.การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
       มหาวิทยาลัย มีความตั้งใจในการธำรงรักษาบุคลากรให้ปฏิบัติงานอยู่กับมหาวิทยาลัยโดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่างๆ ได้แก่การส่งเสริมสนับสนุนให้ทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนเข้าร่วมการอบรมสัมมนาหรือศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาตนเอง และมีสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรโดยการให้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย(เอกสาร 5.1.6(5)) มีระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2558(เอกสาร 5.1.6(6)) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกเงินสวัสดิการค่าการศึกษาบุตรสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2559 (เอกสาร 5.1.6(7)) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559(เอกสาร 5.1.6(8)) นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการมอบเงินในงานศพ(บิดา มารดา/คู่สมรส/บุตร/บุคลากร/บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ) พวงหรีด และช่วยเหลือบุคลากรในด้านที่พักอาศัยของทางราชการด้วย(เอกสาร 5.1.6(9))
การกำกับติดตามด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
       มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยมีระบบสวัสดิการและขวัญกำลังใจมีการดำเนินงานครบถ้วนตามแผน เช่น มีตรวจสุขภาพประจำปี มอบเงินในงานศพ(บิดา มารดา/คู่สมรส/บุตร/บุคลากร/บุคลากรที่เกษียณอายุราชการ) พวงหรีด และช่วยเหลือบุคลากรในด้านที่พักอาศัยของทางราชการด้วย มีการส่งเสริมอาจารย์/นักวิจัยให้เข้าโครงการเชิดชูเกียรตินักวิจัย โดยยกย่องและเชิดชูเกียรติให้กับนักวิจัยดีเด่นในด้านต่างๆ โดยจะมีการมอบรางวัลโดยอธิการบดีเป็นประจำทุกปีในงานวันเจ้าฟ้า และมีการดำเนินการในระดับคณะ เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการสร้างขวัญและกำลังใจและยกย่องผลงานวิจัยดีเด่น โดยมอบโล่รางวัลให้แก่อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์การคัดเลือกนักวิจัยเพื่อเข้ารับรางวัลนักวิจัยดีเด่นงานราชภัฏวิจัยการสร้างขวัญ กำลังใจ โดยการสนับสนุนเงินรางวัลการตีพิมพ์บทความนำเสนอบทความวิจัย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภายในและภายนอก ตามเกณฑ์ ประกาศของมหาวิทยาลัย

5.1.6 (1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 2697/2558 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2558

5.1.6(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ครั้งที่ 1/2559วันที่ 13 มกราคม 2559

5.1.6 (3) แผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

5.1.6(4)รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559

5.1.6(5) คำสั่งไปราชการเข้าอบรมสัมมนาของบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

5.1.6(6) ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2558

5.1.6(7) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกเงินสวัสดิการค่าการศึกษาบุตรสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2559

5.1.6(8) ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2559

5.1.6.(9) หลักฐานการเบิกเงินช่วยเหลือสวัสดิการต่างๆ
ข้อ 7.การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
เอกสารหลักฐาน
  การศึกษาภายใน โดยอธิการบดีซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ทุกหน่วยงานดำเนินการประกันคุณภาพการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับคุณภาพของการบริหารจัดการและคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานตามปกติ (เอกสาร 5.1.7(1)) ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่กำหนด มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย (เอกสาร 5.1.7(2)) โดยมีผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกดังกล่าว ดังนี้

(1) มหาวิทยาลัยกำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยวิเคราะห์และทบทวนจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระบุไว้ในแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2558 หน้าที่ 3 (เอกสาร 5.1.7 (1)) (2) จัดทำแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยจัดทำกรอบและปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558(เอกสาร 5.1.7 (3)) และจัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ระดับมหาวิทยาลัย (เอกสาร 5.1.7 (4)) โดยกำหนดให้หลักสูตร คณะ/วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษาที่สกอ.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ของสกอ. (เอกสาร 5.1.7 (5)) สำหรับหน่วยงานสนับสนุนเทียบเท่าคณะ มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพื่อการประกันคุณภาพหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามพันธกิจ/ภารกิจของหน่วยงาน (เอกสาร 5.1.7 (6)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้กำหนดค่าเป้าหมายการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ระดับหน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของทุกหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้ระบุไว้ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หน้าที่ 10-16 (เอกสาร 5.1.7 (7))

(3) มหาวิทยาลัยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย หน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัย โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.1.7(8)-5.1.7(9)) คณะกรรมการผู้ดูแลรับผิดชอบตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.1.7(10)-5.1.7(11)) ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมถึงทำหน้าที่กำกับติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของหน่วยงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา

(4) ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยดำเนินการโครงการ/กิจกรรม จัดเก็บหลักฐานตามพันธกิจของหน่วยงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย (เอกสาร 5.1.7(12)5.1.7(14))

(5) มหาวิทยาลัยมีการควบคุม กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ระดับหน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัย โดยให้กำหนดให้ทุกหน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 2 ครั้ง/ปี ได้แก่ ภาคการศึกษาที่ 1/2558 ในวันที่ 25 มกราคม 2559 และภาคการศึกษาที่ 2/2558 ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 โดยระบุไว้ในปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หน้า 23-25(เอกสาร 5.1.7 (15)-5.1.7(17)) และสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ ได้สรุปผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณา (เอกสาร 5.1.7 (18)-5.1.7(20)) และได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาตามลำดับ (เอกสาร 5.1.7(21))

(7) มหาวิทยาลัยให้หน่วยงานทุกระดับดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) โดยกำหนดให้ระดับหลักสูตร คณะ/วิทยาลัย จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เป็นรูปเล่มเอกสารและดำเนินการกรอกข้อมูลในระบบ CHE QA Online (เอกสาร 5.1.7(22)) และระดับหน่วยงานสนับสนุน กำหนดให้จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เป็นรูปเล่มเอกสาร (เอกสาร 5.1.7(23)) สำหรับระดับมหาวิทยาลัย กำหนดให้หน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเองรายตัวบ่งชี้ และส่งมายังสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ เพื่อรวบรวมสรุปจัดทำเล่มรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับมหาวิทยาลัย และดำเนินการกรอกข้อมูล SAR ผ่านระบบ CHE QA Online(เอกสาร 5.1.7(24)-5.1.7(31))

(8) หลักสูตร คณะ/วิทยาลัย หน่วยงานสนับสนุนและมหาวิทยาลัย รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบคุณภาพที่กำหนด (เอกสาร 5.1.7(25)) ดังนี้

(8.1) ระดับหลักสูตร รับการประเมินในวันที่ 1-5 สิงหาคม 2559 โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และยืนยันผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ผ่านระบบ CHE QA Online เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559

(8.2) ระดับคณะ/วิทยาลัย รับการประเมินในวันที่ 22-26 สิงหาคม 2559 โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัยได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และยืนยันผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย ผ่านระบบ CHE QA Online เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559

(8.3) ระดับหน่วยงานสนับสนุน รับการประเมินในวันที่ 22-26 สิงหาคม 2559 โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงานสนับสนุนได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เสร็จสิ้นวันที่ 1 กันยายน 2559

(8.4) ระดับมหาวิทยาลัย รับการประเมินวันที่ 17-18 ตุลาคม 2559 โดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัยได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน และยืนยันผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย ผ่านระบบ CHE QA Online เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559

(9) หลังจากที่นำเสนอผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ/วิทยาลัย และหน่วยงานสนับสนุนแล้วหน่วยงานดังกล่าวได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน รวมถึงข้อเสนอแนะของสภามหาวิทยาลัย มาจัดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Improvement Plan) ทุกปีการศึกษา โดยในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้ให้หน่วยงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย หน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัยดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan) ซึ่งในแต่ละหน่วยงานได้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน เสนอต่อกรรมการบริหารของหน่วยงาน สำหรับระดับมหาวิทยาลัย สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ ได้ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2558 โดยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559 (เอกสาร 5.1.7(31)-5.1.7(35))

(10) จัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาฉบับสมบูรณ์ และส่งผลรายงานผ่านระบบ CHE QA Online ภายใน 120 วัน นับจากสิ้นปีการศึกษาและเผยแพร่สู่สาธารณชน

5.1.7(1) นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ปรากฏอยู่ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2558 หน้า 3

5.1.7(2) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย ปรากฏอยู่ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2558 หน้า 4-9

5.1.7(3) กรอบและปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ปรากฏอยู่ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558  หน้า 17-25

 

5.1.7(4) คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(5) คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 (สกอ.)

5.1.7(6) คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(7) ค่าเป้าหมายการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ปรากฏอยู่ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558  หน้า 10-16

5.1.7 (8) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ระดับหน่วยงานสนับสนุน

5.1.7 (9) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 เลขที่ 2515/2558 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2558

5.1.7 (10) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ดูแลตัวบ่งชี้ ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ/วิทยาลัย และหน่วยงานสนับสนุน

5.1.7 (11) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและผู้ดูแลรับผิดชอบตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 เลขที่ 2469/2558 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

5.1.7 (12) สรุปโครงการอบรม เรื่องเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำหรับอาจารย์ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558 วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2559

5.1.7 (13) สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 วันที่ เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2559

5.1.7 (14) สรุปโครงการเชิงปฏิบัติการระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 

5.1.7(15) ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ปรากฏอยู่ในแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558  หน้า 23-25

5.1.7 (16) บันทึกข้อความที่ ศธ 0551.19 / ว234 เรื่องติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558

5.1.7(17) บันทึกข้อความที่ ศธ 0551.19 / ว 172-174 เรื่องติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558

5.1.7(18) รายงานสรุปผลการติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558 และภาคการศึกษาที่ 2/2558

5.1.7(19) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 2/2559วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 วาระรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558

5.1.7(20) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 8/2559วันที่ 10 สิงหาคม 2559 วาระรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558

5.1.7(21) รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 3 มีนาคม 2559 วาระรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558

5.1.7 (22) รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (23) รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหน่วยงานสนับสนุน ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (24) รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (25) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ/วิทยาลัย ระดับหน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (26) รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (27) รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (28) รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก/สถาบัน ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (29) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 10 สิงหาคม 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7 (30) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 8 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับสำนัก/สถาบัน ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(31) รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 1 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(32) บันทึกข้อความให้หลักสูตรและคณะ วิทยาลัย หน่วยงานสนับสนุนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan)  

5.1.7(33) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan)  ระดับหลักสูตร คณะ วิทยาลัย หน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(34) รายงานการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan) ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558

5.1.7(35) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 10 สิงหาคม 2559

 
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลการบริหารงานของคณะ
ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
 
การประเมินตนเองจากผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนที่ได้

การบรรลุเป้าหมาย

ค่าเฉลี่ย 4.45

คะเฉลี่ย 4.28

4.28 คะแนน

ไม่บรรลุ

 
ผลการดำเนินงาน
           มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีหน่วยงานระดับคณะ วิทยาลัยทั้งหมด จำนวน 6 คณะ และ 1 วิทยาลัย และได้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/วิทยาลัยตามเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยมีผลการประเมินรายคณะ/วิทยาลัย สรุปได้ดังนี้

ที่

คณะ/วิทยาลัย

ผลการประเมิน
(คะแนนเฉลี่ย)

ระดับคุณภาพ

วันเดือนปีที่รับการประเมิน

1

ครุศาสตร์

4.39

ดี

22 สิงหาคม 2559

2

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4.18

ดี

23 สิงหาคม 2559

3

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4.39

ดี

24 สิงหาคม 2559

4

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

4.19

ดี

22 สิงหาคม 2559

5

วิทยาการจัดการ

3.96

ดี

24 สิงหาคม 2559

6

เทคโนโลยีการเกษตร

4.45

ดี

24 สิงหาคม 2559

7

วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

4.39

ดี

25 สิงหาคม 2559

คะแนนที่ได้ในภาพรวมระดับมหาวิทยาลัย

4.28

ดี

 


รายการเอกสารหลักฐานอ้างอิง

หมายเลขเอกสาร

ชื่อเอกสาร

5.2.1(1)

รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558
   - คณะครุศาสตร์
   - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
   - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   - คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
   - คณะวิทยาการจัดการ
   - คณะเทคโนโลยีการเกษตร
   - วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

 
 
 
 
 
 
 
 
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
 

การประเมินตนเองจากผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

คะแนนที่ได้

การบรรลุเป้าหมาย

6 ข้อ

5 ข้อ (ข้อ 1-5)

4.00 คะแนน

ไม่บรรลุ

 
ผลการดำเนินงาน
ข้อ 1 มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

   มหาวิทยาลัย มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ดังนี้
          1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับหลักสูตร โดยมีหน้าที่กำกับติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตร และคณะ/วิทยาลัย ให้เป็นไปตามองค์ประกอบคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและคณะ (เอกสาร 5.3.1(1)-5.3.1(2))   
          2. จัดโครงการ/กิจกรรม การประชุม แก่ผู้บริหาร  ประธานหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และคณะ สร้างความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์ องค์ประกอบตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ โดยในปีการศึกษา 2558 สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ ได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ดังนี้ โครงการอบรมเรื่องเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร สำหรับอาจารย์ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2559 (เอกสาร 5.3.1(3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ผู้ประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2559  (เอกสาร 5.3.1(4)) โครงการเชิงปฏิบัติการระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 (เอกสาร 5.3.1(5)) นอกจากนี้สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพได้ร่วมกับคณะ/วิทยาลัยดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน QA Sharing day ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 – 30 มีนาคม 2559 (เอกสาร 5.3.1(6))

          3. มหาวิทยาลัยให้คณะรายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพทั้งในระดับคณะและระดับหลักสูตร จำนวน 2 ครั้ง/ปี  คือ ภาคการศึกษาที่ 1/2558 และภาคการศึกษาที่ 2/2558 (เอกสาร 5.3.1(7)-เอกสาร 5.3.1(10)) โดยหลังจากที่มหาวิทยาลัยรับผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ระดับคณะและระดับหลักสูตรมาเรียบร้อยแล้ว สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานและรวบรวมปัญหาอุปสรรคที่พบมาจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน พร้อมกับหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจัดการประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2258 ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 และครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559  (เอกสาร 5.3.1(11)- 5.3.1(13)) หลังจากนั้น สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพได้นำเสนอผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ (เอกสาร 5.3.1(14)-5.3.1(16)) และได้รวบรวมสรุปข้อมูลผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะ จากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยป้อนกลับข้อมูลไปยังหลักสูตรและคณะเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
          7. มหาวิทยาลัยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในทุกระดับ โดยให้คณะเสนอรายชื่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มายังมหาวิทยาลัย (เอกสาร 5.3.1(17))
          8. มหาวิทยาลัยกำหนดให้หลักสูตร คณะ/วิทยาลัย ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ผ่านระบบ CHE QA Online เพื่อรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558  ตามปฏิทินที่มหาวิทยาลัยกำหนด (เอกสาร 5.3.1(18)) 
          9. ดำเนินการตรวจประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และคณะ ตามระยะที่กำหนด
          10. นำเสนอผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ เสนอให้มหาวิทยาลัยทราบผ่านสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ (เอกสาร 5.3.1(19))
          11. นำผลงานประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา (เอกสาร 5.3.1(20)-5.3.1(22))

5.3.1(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ
5.3.1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ดูแลตัวบ่งชี้ ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับหลักสูตร และระดับคณะ
5.3.1(3) สรุปโครงการอบรมเรื่องเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร สำหรับอาจารย์ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2559
5.3.1(4) สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ผู้ประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2559 
5.3.1(5) โครงการเชิงปฏิบัติการระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559
5.3.1(6) บันทึกข้อความที่ ศธ 0551.19/ว136 เรื่อง เชิญเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน QA Sharing day ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 – 30 มีนาคม 2559
5.3.1(7) ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1(8) บันทึกข้อความที่ ศธ 0551.19 / ว234 เรื่องติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558
5.3.1(9) บันทึกข้อความที่ ศธ 0551.19 / ว 172-174 เรื่องติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558
5.3.1(10) รายงานสรุปผลการติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558 และภาคการศึกษาที่ 2/2558
5.3.1(11)รายงานการประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ 1/2558 วันที่ 18 ธันวาคม 2558
5.3.1(12) รายงานการประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ 2/2558 วันที่ 19 เมษายน  2559
5.3.1(13) รายงานการประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 11 กรกฎาคม  2559
5.3.1(14) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 2/2559วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 วาระรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558
5.3.1(15) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร (กบ.) ครั้งที่ 8/2559วันที่ 10 สิงหาคม 2559 วาระรายงานการ
ติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558

5.3.17(16) รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 3 มีนาคม 2559 วาระรายงานการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 2/2558
5.3.1(17) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1(18) กำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1(19) บันทึกข้อความจากคณะถึงสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ เรื่องส่งรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1(20) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 10 สิงหาคม 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1 (21) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 8 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับสำนัก/สถาบัน ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.1 (22) รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 1 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558

 

 

 
ข้อ2 มีคณะกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้คณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

มหาวิทยาลัยมีคณะกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้คณะกรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา ดังนี้
          (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.3.2(1)- เอกสาร 5.3.2(2))  และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและรับผิดชอบตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.3.2(3))  ที่ประกอบไปด้วยผู้บริหาร ประธานหลักสูตร อาจารย์และบุคลากรที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพของหน่วยงานต่าง ๆ จากหน่วยงานตั้งแต่ระดับหลักสูตร และระดับคณะ วิทยาลัย  โดยมีหน้าที่ “กำกับติดตาม ตรวจสอบ ผลการดำเนินงาน และการดำเนินการตรวจสอบการประกันคุณภาพของหลักสูตร คณะ วิทยาลัย” ให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามระบบที่กำหนด 
          (2) มีการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ วิทยาลัย 2 ครั้ง คือ ภาคการศึกษาที่ 1/2558 และครั้งที่ 2/2558 (เอกสาร 5.3.2(4)) และได้รายงานผลการติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ 1 ต่อคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 (เอกสาร 5.3.2(5))  และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  และรายงานต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 เพื่อพิจารณา (เอกสาร5.3.2(8)) สำหรับการรายงานผลการติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ 2 นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559   (เอกสาร 5.3.2(6)-5.3.2(7)) ซึ่งจากการติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับทราบข้อมูลผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องรวมถึงได้รับทราบปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน นำไปสู่กระบวนการทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไข และพัฒนากระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ/วิทยาลัย อย่างต่อเนื่อง

5.3.2 (1) คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 เลขที่ 2515/2558 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2558
5.3.2 (2) คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558  (แก้ไขเพิ่มเติม) คำสั่งเลขที่ 544/2559 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2559
5.3.2(3) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและผู้ดูแลรับผิดชอบตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558  
5.3.2(4) รายงานผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ภาคการศึกษาที่ 1/2558  และภาคการศึกษาที่ 2/2558
5.3.2(5) รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2558 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2558
5.3.2(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559
5.3.2(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 10 สิงหาคม 2559
5.3.2 (8) รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2559 วันที่ 3 มีนาคม 2559
 
ข้อ 3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

   มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ดังนี้
          1. ด้านกำกับมาตรฐาน   มหาวิทยาลัย มีการจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรสายวิชาการเพื่อให้มีจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรครบตามเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด โดยในช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 มหาวิทยาลัยมีการเปิดรับสมัครอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 11 ครั้ง ซึ่งมีผู้มาสมัครงานจำนวนรวมทั้งสิ้น 66 คน (เอกสาร 5.3.3(1))
          2. ด้านการผลิตบัณฑิต มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 104,030,249 บาท โดยมีโครงการดังนี้ 1) โครงการเสริมสร้างพัฒนาคุณธรรม ความรู้ ทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา 2) โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา 3) โครงการพัฒนาเอกลักษณ์นักศึกษาและลูกเจ้าฟ้าช่วยสังคม 4) โครงการ    วไลยอลงกรณ์ก้าวไกลสู่อาเซียน 5) โครงการเครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนางานตามภารกิจ 6) โครงการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป และ 7) โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อสร้างทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 (เอกสาร 5.3.3(2)) สำหรับการผลิตผลงานของนักศึกษาปริญญาโท/เอกที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นทุนในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา (เอกสาร 5.3.3(3)) รวมถึงมีวารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นแหล่งในการเผยแพร่ผลงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา (เอกสาร 5.3.3(4))
          3. ด้านนักศึกษา มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นหน่วยงานกลางที่ช่วยประสานงานการคัดเลือกนักศึกษาตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีการได้จัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการประชาสัมพันธ์การรับเข้าศึกษาของนักศึกษาระดับต่างๆ และมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมทางการเรียนและกิจกรรมพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  เช่น 1) โครงการเสริมสร้างพัฒนาคุณธรรม ความรู้ ทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา 2) โครงการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา 3) โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อสร้างทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นต้น(เอกสาร 5.3.3(5))
    4. ด้านอาจารย์และคุณภาพอาจารย์  มหาวิทยาลัยมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพอาจารย์ โดยได้จัดสรรงบประมาณให้อาจารย์เข้ารับการอบรมทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้อาจารย์มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดยมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่อาจารย์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้มีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โดยในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก จำนวน 13 ราย และส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งในปีการศึกษา 2558 มีผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 11 คน และ รองศาสตราจารย์ จำนวน 2 คน (เอกสาร 5.3.3(6))
          5. ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด เพื่อให้มีความทันสมัยตามศาสตร์สาขาวิชา โดยจัดสรรงบประมาณต่างๆ ให้กับหลักสูตรและอาจารย์ เช่น  โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ Education 4.0 : วไลยอลงกรณ์ โมเดล” เป็นต้น (เอกสาร 5.3.3(6)-เอกสาร 5.3.3(9))
          6. ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยได้จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน โดยมี สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่สนับสนุนจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ อุปกรณ์ประกอบการศึกษาต่างๆ ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการในการจัดหาทรัพยากรประกอบการศึกษา ทั้งในรูปแบบหนังสือ เอกสาร วารสาร รวมถึงสื่อสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการเชื่อมโยงระบบห้องสมุดกับหนังสือ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ยอมรับ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า สำหรับการบริการระบบเครือข่ายสารสนเทศ ศูนย์คอมพิวเตอร์มีการจัดให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในมหาวิทยาลัยทั้งส่วนการศึกษา และส่วนที่พักอาศัย โดยระบบเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยมี 2 แบบ คือ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย (Lan) และระบบเครือข่ายไร้สาย (WiFi) การอบรมการใช้งานห้องสมุด และนอกจากนี้มหาวิทยาลัยมีศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ (เอกสาร 5.3.3(10)) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการบริการด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมีอาคารเรียน และห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนการสอน อีกทั้งได้มีระบบการบริการสุขภาพให้แก่นักศึกษาทุกชั้นปี มีอาคารพยาบาล โรงอาหาร และมีร้านค้าและร้านสะดวกซื้อภายในมหาวิทยาลัย 2 แห่ง มีสนามกีฬาทั้งกลางแจ้งและภายในอาคาร มีสระว่ายน้ำมาตรฐาน สำหรับให้นักศึกษาได้ออกกำลังกายและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร (เอกสาร 5.3.3(11)) มหาวิทยาลัยจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคที่ครบถ้วน เช่น บริการร้านถ่ายเอกสาร ระบบไฟฟ้าครอบคลุมทุกบริเวณที่อยู่อาศัย ระบบประปาที่ทั่วถึง และการรักษาความสะอาดตามหลักมาตรฐาน สำหรับด้านความปลอดภัยมีการแลกบัตรผ่านเข้า-ออกมหาวิทยาลัย โดยใช้ช่องทางผ่านด้านหน้ามหาวิทยาลัยช่องทางเดียว ระบบรักษาความปลอดภัยภายในอาคารทุกอาคาร มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำทุกอาคารโดยรอบมหาวิทยาลัย และมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามอาคารต่างๆทั่วมหาวิทยาลัย รวมถึงมีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในอาคารและสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย  
          7. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมีการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน แก่ผู้บริหาร ประธานหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และบุคลากร ได้แก่ โครงการอบรมเรื่องเกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร สำหรับอาจารย์ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2559  (เอกสาร 5.3.3(12)) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน QA Sharing day ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 – 30 มีนาคม 2559 (เอกสาร 5.3.3(13)) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ผู้ประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2559  (เอกสาร 5.3.3(14)) โครงการเชิงปฏิบัติการระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559  (เอกสาร 5.3.3())และโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิพากษ์รายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 (เอกสาร 5.3.3(15)) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลสำหรับการประกันคุณภาพ เช่น ข้อมูลด้านอาจารย์และบุคลากร ข้อมูลด้านหลักสูตร และนักศึกษา ข้อมูลด้านการวิจัย (เอกสาร 5.3.3(16)) และมีการจัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.3.3(17)) และแผนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย แจกจ่ายให้กับทุกหน่วยงานตั้งแต่ระดับหลักสูตร ระดับคณะ วิทยาลัย เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (เอกสาร 5.3.3(18))

5..3.3(1) กรอบอัตรากำลังบุคลาการสายวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2558-2561
5.3.3(2) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 แผนงานที่ 1 พัฒนาคุณภาพบัณฑิต หน้า 19 – 23
5.3.3(3) ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องการสนับสนุนทุนการตีพิมพ์เผยแพร่ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
5.3.3(4) วารสารวิจัยและพัฒนาวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
5.3.3(5) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 แผนงานที่ 1 พัฒนาคุณภาพบัณฑิต หน้า 19 – 23
5.3.3(6) แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 แผนงานที่ 3 วิจัย บริการวิชาการ อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม  โครงการส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการสำหรับอาจารย์ หน้า 29
5.3.3(6) สรุปโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 
5.3.3(7) สรุปโครงการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 
5.3.3(8) สรุปโครงการการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5.3.3(9) สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้ Education 4.0 : วไลย อลงกรณ์ โมเดล
5.3.3(10) รายงานผลการดำเนินงานระบบพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5.3.3(11) ภาพถ่ายสถานที่บริการด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
5.3.3(12)สรุปโครงการอบรมเรื่องเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำหรับอาจารย์ใหม่ ประจำปีการศึกษา 2558 วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2559
5.3.3(13) บันทึกข้อความเชิญเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน QA Sharing day ระดับหลักสูตร ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558 ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559–30 มีนาคม 2559
5.3.3(14)สรุปโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 วันที่ เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2559
5.3.3(15) สรุปโครงการเชิงปฏิบัติการระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (CHE QA Online) ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 
5.3.3(16) สรุปโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิพากษ์รายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559
5.3.3(17) Print Out หน้าเว็บไซต์ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลสำหรับการประกันคุณภาพ เช่น ข้อมูลด้านอาจารย์และบุคลากร ข้อมูลด้านหลักสูตร และนักศึกษา ข้อมูลด้านการวิจัย
5.3.3(18) คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ประจำปีการศึกษา 2558

 

 

 

 
ข้อ 4 นำผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรและทุกคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

   มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ เมื่อวันที่ 3-21 สิงหาคม 2558 และวันที่ 9-17 กันยายน 2558 โดยได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2557(เอกสาร 5.3.4(1)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) เพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 (เอกสาร 5.3.4(2)) และเสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558  (เอกสาร 5.3.4(3))
          สำหรับในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2559 (เอกสาร 5.3.4(4)) และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะเมื่อวันที่ 22-26 สิงหาคม 2559  (เอกสาร 5.3.4(5)) โดยมหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ทุกหลักสูตรและระดับคณะทุกคณะเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 (เอกสาร 5.3.4(6)-5.3.4(8))

5.3.4(1) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ระดับคณะ หน่วยงานสนับสนุน และระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557
5.3.4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11/2558 วันที่ 11 ตุลาคม 2558
5.3.4(3) รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 12/2558 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558
5.3.4(4) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.4(5) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.4(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 8/2559 วันที่ 10 สิงหาคม 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.4(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 8 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับสำนัก/สถาบัน ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.4(8) รายงานการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วันที่ 1 กันยายน 2559 วาระเพื่อพิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558
 
ข้อ 5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

    มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557 มาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตร และคณะ โดยมหาวิทยาลัยได้ให้หลักสูตรและคณะดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2558  (เอกสาร 5.3.5(1) – 5.3.5(2))

           

สำหรับการดำเนินงานปรับปรุงตามข้อเสนอแนะสภามหาวิทยาลัย นั้น จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมามีหลักสูตรที่ประเมินไม่ผ่านการประเมินองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวน 5 หลักสูตร ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาผลการประเมินและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร เมื่อคราวการประชุมครั้งที่ 12/2558 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 โดยให้มหาวิทยาลัยและคณะดำเนินการหาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องให้หลักสูตรที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐานหลักสูตร จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่ครบ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิไม่ตรงและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดูแลนักศึกษาเกินเกณฑ์ที่สกอ.กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในปีต่อไป ซึ่งสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของสภามหาวิทยาลัย ดังนี้

1) หลักสูตรที่ไม่ผ่าน­­เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในข้อ 1อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่ครบ จำนวน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยได้นำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยแจ้งต่อคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งได้ประสานงานไปยังงานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี ให้ปรับปรุงช่วงระยะเวลาในการคัดเลือกอาจารย์ประจำหลักสูตรให้เร็วขึ้นเพื่อหลักสูตรจะได้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรครบตามเกณฑ์ที่กำหนดตลอดเวลาครบทุกหลักสูตร โดยในช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 มหาวิทยาลัยมีการเปิดรับสมัครอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 11 ครั้ง ซึ่งมีผู้มาสมัครงานจำนวนรวมทั้งสิ้น 66 คน หลังจากนั้นหลักสูตรและคณะได้ดำเนินการเสนอปรับปรุงอาจารย์ประจำหลักสูตรตามแบบ สมอ.08 และเสนอต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติ (เอกสาร 5.3.5(3)– เอกสาร 5.3.5 (5))
          2) หลักสูตรที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในข้อ 9 ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาดูแลนักศึกษาเกินกว่าเกณฑ์กำหนด คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ หลักสูตรได้ดำเนินการแก้ไขโดยดำเนินการแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 1 คน ต่อนักศึกษา 5 คน เป็นไปตามเกณฑ์ที่สกอ.กำหนด (เอกสาร 5.3.5 (6))

3) หลักสูตรที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในข้อ 10 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอไม่ครบทุกคน คือ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะในปีการศึกษา 2558 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรนี้ได้ดำเนินการทำผลงานวิจัยเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (เอกสาร 5.3.5(7))
          สำหรับการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นั้น ในปีการศึกษา 2557 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีสัดส่วนจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการน้อย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก และการเปิดรับอาจารย์ซึ่งมีคุณวุฒิปริญญาเอก การสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ในรอบปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยมีจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2557 จำนวน 20.50 คน และสำหรับอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ในปีการศึกษา 2558 พบว่ามีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2557 จำนวน 9.50 คน รายละเอียดดังตาราง 1 และ ตาราง 2

ตาราง 1 แสดงจำนวนอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

คณะ/วิทยาลัย

ปีการศึกษา/จำนวนอาจารย์มีคุณวุฒิ ป.เอก

2557

2558

เพิ่มขึ้น

ครุศาสตร์

22.5

26

3.5

มนุษยศาสตร์ฯ

12

17

5

วิทยาศาสตร์ฯ

18

21

3

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

8

11.5

3.5

วิทยาการจัดการ

8

9

1

เทคโนโลยีการเกษตร

6

9

3

วิทยาลัยนวัตกรรมฯ

11.5

13

1.5

รวม

86

106.5

20.5

ตาราง 2 แสดงจำนวนอาจารย์ประจำที่มีดำรงตำแหน่งทางวิชาการ


คณะ/วิทยาลัย

ปีการศึกษา/จำนวนอาจารย์มีคุณวุฒิ ป.เอก

2557

2558

เพิ่มขึ้น

ครุศาสตร์

15

17

2

มนุษยศาสตร์ฯ

7

11.5

4.5

วิทยาศาสตร์ฯ

23.5

25

1.5

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

12

15.5

3.5

วิทยาการจัดการ

18

19

1

เทคโนโลยีการเกษตร

10

10

-

วิทยาลัยนวัตกรรมฯ

4.5

1.5

-

รวม

90

99.5

9.5

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร และระดับคณะ โดยเปรียบเทียบคะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระหว่างปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 พบว่าผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร และระดับคณะ มีระดับคุณภาพเพิ่มขึ้น (เอกสาร 5.3.5(8)) ดังนี้
          ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2557 ได้ดำเนินการประเมินหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 59 หลักสูตร มีหลักสูตรที่ประเมินไม่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 จำนวน 5 หลักสูตร (ร้อยละ 8.47)  มีหลักสูตรที่มีผลการประเมินในระดับคุณภาพน้อย จำนวน 13 หลักสูตร (ร้อยละ 22.03) และระดับคุณภาพปานกลาง 36 หลักสูตร (ร้อยละ 61.02) ระดับคุณภาพดี 5 หลักสูตร (ร้อยละ 8.47) ในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 63 หลักสูตร มีหลักสูตรที่ประเมินไม่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 จำนวน 2 หลักสูตร    (ร้อยละ 3.17) มีหลักสูตรที่มีผลการประเมินระดับคุณภาพปานกลางจำนวน 31 หลักสูตร (ร้อยละ 50.81) และอยู่ในระดับคุณภาพดี จำนวน 30 หลักสูตร ดังตาราง 3


ตาราง 3 แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร

คะแนน

ระดับคุณภาพ

ปีการศึกษา 2557

ปีการศึกษา 2558

จำนวน หลักสูตร

ร้อยละ

จำนวนหลักสูตร

ร้อยละ

0.00

ไม่ได้มาตรฐาน

5

8.47

2

3.17

0.01-2.00

น้อย

13

22.03

0

0.00

2.01-3.00

ปานกลาง

36

61.02

31

50.81

3.01-4.00

ดี

5

8.47

30

49.19

4.01-5.00

ดีมาก

0

0.00

0

0.00

ระดับคณะ คณะมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2558 เพิ่มขึ้น จำนวน 6 คณะ เมื่อเทียบกับผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2557 ดังตาราง 4
ตาราง 4 แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ


คณะ/วิทยาลัย

คะแนนเฉลี่ยผลการประเมิน

ร้อยละ

2557

 2558

ครุศาสตร์

4.11

4.39

5.60

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3.55

4.18

12.60

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4.12

4.39

5.40

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

3.93

4.19

5.20

วิทยากรจัดการ

4.00

3.96

-1.40

เทคโนโลยีการเกษตร

4.22

4.45

4.60

วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

3.89

4.39

10.00

 

5.3.5(1) บันทึกข้อความให้หลักสูตรและคณะ วิทยาลัย จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan)
5.3.5(2) แบบฟอร์มการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน (Improvement Plan) ระดับหลักสูตร และคณะ วิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
5.3.5(3) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล
5.3.5(4) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรศิลปศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อนวัตกรรมการสื่อสาร
5.3.5(5) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
5.3.5(6) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
5.3.5 (7) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2558 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
5.3.5 (8) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2557 และ ปีการศึกษา 2558
5.3.5 (9) สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ วิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 และ ปีการศึกษา 2558



 
ข้อ 6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน เอกสารหลักฐาน

              ผลจากการประเมินคุณภาพหลักสูตร ของมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2558 (เอกสาร 5.3.6(1) -5.3.1(2)) มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ได้รับการประเมินจำนวนทั้งสิ้น 63 หลักสูตร พบว่ามี 61 หลักสูตรที่ผ่านการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 : การกำกับมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 96.83 และมีหลักสูตรที่ ไม่ผ่านการประเมินองค์ประกอบที่ 1 : การกำกับมาตรฐาน จำนวน 2 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 3.17  คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ และหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ เนื่องจากอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่ครบ 5 คน

5.3.6(1) รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558
5.3.6(2) รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558 ทั้ง 63 หลักสูตร