สกอ.สมศ.ก.พ.ร.


 
ประวัติ

                มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
ตามนโยบายของสภาสถาบันราชภัฏในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสำนักมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นหน่วยงานภายใน เพื่อดำเนินงานในด้านการทำหน้าที่กำหนดระบบกลไกและดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งภายในและภายนอกให้เป็นไปตามที่สภาสถาบันราชภัฏกำหนดเพื่อดำเนินงานในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานภายนอก ต่อมาในปี พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนจากสถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ สำนักมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษายังคงดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งขึ้นตรงต่ออธิการบดี ในปี พ.ศ.2550 สำนักมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับเป็นงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดกองนโยบายและแผน แต่ยังดำเนินการต่างๆ เช่นเดียวกับเมื่อครั้งยังเป็นสำนักงานมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ในปี พ.ศ.2552 มหาวิทยาลัยได้มีนโยบาย ในการจัดการเรื่องมาตรฐานการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน อีกทั้งสามารถปฏิบัติงานในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจัดตั้งสำนักมาตรฐานและ จัดการคุณภาพขึ้น

                สำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 มาตรา 47, 48, 49, 50 และ 51 ซึ่งว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาทำหน้าที่สนับสนุนให้คณะและหน่วยงานสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัย ได้พัฒนาและดำเนินงานตามระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งการดำเนินงาน ตามกรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการ เพื่อสร้างมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานและมีคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
 
ปรัชญา
 
พัฒนาคุณภาพ สร้างมาตรฐาน สนับสนุนงานทุกระดับ
 
วิสัยทัศน์
 
มุ่งสนับสนุนให้หน่วยงานสร้างผลสัมฤทธิ์ ผลิตผลงานอย่างมีมาตรฐาน ทุกระดับและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
พันธกิจ
 
1.
เสริมสร้างความเข้าใจระบบประกันคุณภาพให้บุคลากรในสถาบันทุกระดับ
2.
พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายใน กำหนดกรอบ แนวทางและวิธีการประเมินคุณภาพที่สอดคล้อง
กับอัตลักษณ์ของสถาบัน และระบบการประเมินคุณภาพภายนอก
3.
ดำเนินการพัฒนาองค์ประกอบ มาตรฐานและเกณฑ์การประเมินให้สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพ
ภายในและภายนอก
4.
สนับสนุนให้หน่วยงานทุกระดับมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในทุกหน่วยงาน จัดให้มีการติดตาม
ผลการดำเนินงานและประเมินคุณภาพทุกหน่วยงาน
5.
นำเสนอรายงานการประเมินคุณภาพประจำปี ต่อสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา
6.
สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรผ่านการรับรองเป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในที่มีประสิทธิภาพ
และถูกต้องตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
7.
สนับสนุนให้มีระบบ กลไก ส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับความรู้ในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา
และสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม และชีวิตประจำวันของนักศึกษา
8.
ดำเนินงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
9.
จัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา
จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา(สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.)
10.
จัดให้มีการเผยแพร่ผลงานประกันคุณภาพการศึกษาสู่สาธารณชน
 
เป้าหมาย
 
1.
บริหารระบบประกันคุณภาพของสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ
2.
พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
3.
ประสานงานในด้านการประกันคุณภาพและการตรวจสอบการประเมินคุณภาพการศึกษา
4.
ประสานงานในการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
5.
ดำเนินการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
 
วัตถุประสงค์
 
1.
เพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยมีความเข้าใจระบบงานประกันคุณภาพการศึกษา
2.
เพื่อพัฒนาให้มีเกณฑ์และแนวทางในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
  ให้มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม
3.
เพื่อให้การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีการควบคุม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพที่ได้มาตรฐาน
  สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
4.
เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการจัดประกันคุณภาพ
5.
เพื่อแนะนำและให้คำปรึกษางานประกันคุณภาพ
6.
เพื่อดำเนินการติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง
 
นโยบาย
 
1.
จัดระบบการประกันคุณภาพของสำนักมาตรฐานและจัดการคุณภาพ
2.
จัดระบบการประเมินและรายงานผลการดำเนินงานของสำนักอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
3.
ให้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกในกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา
  สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
4.
ประสานกับทุกหน่วยงานเพื่อพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  และทันกับความเปลี่ยนแปลงภายนอก
5.
สนับสนุนและติดตามการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง
6.
ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทุกระดับ ได้เผยแพร่งานประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก